Thursday, January 28, 2010

วิธีการปลูกข้าว ไม่ให้เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล มาทำลาย ข้าว ใน แปลงนา ของเรา

                  เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เป็นศัตรูพืชที่สำคัญของคนทำนาปลูกข้าว ชาวนาทุกคนรู้จักแมลงชนิดนี้ดี เพราะบางทีแมลงชนิดนี้สร้าง ความเสียหายได้ในชั่วข้ามคืน ถึงกับหมดเนื้อหมดตัว เรามาทำความรู้จัก เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล กันก่อน
เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล มีลักษณะเป็นแมลงขนาดเล็ก 2-3 มิลลิเมตรสีน้ำตาล มีรูปร่าง 2 ลักษณะ คือ ชนิดปีกยาว (macropterous form) และชนิดปีกสั้น (bracrypterous form) มีชื่อ ภาษาอังกฤษว่า Brown planthoppeพ และชื่อวิทยาศาสตร์: Nilaparvata lugens (Stal) ) เป็นแมลงศัตรูพืช ชนิดปากดูด โดยมักทำลาย ข้าว โดยดูดน้ำเลี้ยงจากต้นข้าวทุกระยะการเจริญเติบโตจนทำให้ข้าวแห้งตาย เป็นจุดๆ ในแปลงนา และขยายตัวเป็นวงกว้าง ออกไปตามปริมาณของเพลี้ยกระโดดที่เพ่ิมขึ้น ทำให้บริเวณที่มีเพลี้ยเกาะอยู่ มีลักษณะคล้ายใบโดนน้ำร้อนลวก ใบเหลือง แดงและต้นข้าวตาย หากข้าวที่ถูกดูดกินน้ำเลี้ยงไม่ตาย เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลจะเป็นพาหะนำเชื้อไวรัส ซึ่งทำให้เกิดโรคใบหงิก หรือโรคจู๋ ข้าวไม่ออกรวง สร้างความเสียหาย แก่เกษตรกรผู้ปลูกข้าวอย่างมาก

                   วิธีการป้องกันเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลไม่ให้มาทำลายต้นข้าวในแปลงนาที่เราปลูกมีหลายวิธีการ แต่ในที่นี้จะแนะนำวิธีการ แบบง่ายๆ แต่เรา ไม่ค่อยจะทำกัน เรียกว่าเป็นการ ป้องกันเสียแต่เนิ่นๆ
                     วิธีแรก เริ่มจากการเตรียมแปลงนาปลูกข้าวให้สะอาด ปราศจากวัชพืช ซึ่งเป็นที่อาศัยของแมลงศัตรูข้าว เนื่องจากในบางครั้งหลังจากเราเก็บเกี่ยงผลผลิตข้าว รุ่นก่อนหน้านี้แล้ว อาจมีแมลงที่เป็นศัตรูของข้าวอาศัยอยู่ เราต้องตัด และเผาทำลายทิ้งให้หมด ให้เผาเฉพาะ วัชพืชตามคันนา ส่วนฟางข้าว ให้หมักด้วยจุินทรีย์สำหรับย่อยสลายตอซัง และฟางข้าว ดินในนาของเราจะได้มีความอุดมสมบูรณ์เพิ่มขึ้น

                      วิธีที่สอง การหว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวให้ใช้ อัตราส่วน 30- 40 กิโลกรัมต่อ 1 ไร่ ในบางแปลงปลูกข้าว ใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวมากถึง 60 กิโลกรัมต่อ 1 ไร่ สิ้นเปลืองเมล็ดพันธุ์โดยใช่เหตุ ไม่ควรมากกว่านี้ เนื่องจากจะทำให้ ต้นข้าวขึ้นอย่าง แออัด หนาแน่นเกินไป แสงแดดส่องลงไปไม่ถึง โคนต้นข้าว ทำให้เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลชอบมาอาศัยและวางไข่ และดูดน้ำเลี้ยงต้นข้าว รวมทั้งทำให้การเชื้อรา ได้ง่ายๆ

                      วิธีที่สาม การใส่ปุ๋ยให้กลับแปลงนาปลูกข้าว ควรแบ่งระยะการใส่เป็นช่วงๆ หากเป็นไปได้ แนะนำให้ใส่ 4 ระยะ ของการเจริญเติบโตของข้าวดังนี้
                                        ระยะที่ 1 หลังจากไขน้ำเข้านา ข้าวอายุ 10-20 วัน ใส่ปุ๋ย ยูเรีย แบบ หว่านลงแปลงนาข้าว
                                        ระยะที่ 2 ข้าวอายุ 35- 45 วัน  ใส่ ปุ๋ยเต็มสูตร ที่ีมี N P K โดยให้ ปุ๋ยตัวแรก สูงที่สุดและไล่ตามมา ต่ำสุด ที่ตัวท้าย
                                        ระยะที่ 3 ข้าว อายุ 55-65 วัน   ใส่ปุ๋ยผสมทางใบ N และ K โดยให้ มีสูตร N ต่ำกว่า K  3-5เท่า เช่น สูตร 11-0-52 โดยการฉีดพ่นทางเครื่อง อัดแรงดัน แบบลากสาย อัตตราส่วน 1 กิโลกรัมต่อ น้ำ 200 ลิตร ซึ่งปุ๋ยสูตรนี้ จะมีส่วนทำให้ ข้าวมีการพัตนาตาดอก สร้างระแง้ เพื่อรองรับเมล็ด ออกมาเป็นจำนวนมาก เป็นเคล็ดลับในการเพิ่มผลผลิตข้าว ที่ชาวนา หรือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว น้อยคนที่จะรู้ ข้อสำคัญเราต้องคาดคะเนเวลาให้เหมาะสมในช่วงที่ข้าวกำลังสร้างตา ดอก ก่อนการตั้งท้อง
                                         ระยะที่ 4 ข้าว ตั้งท้อง ใส่ปุ๋ยผสมเต็มสูตร N P K โดยให้มี  K สูงที่สุด ในจำนวน ธาตุอาหาร 3 ตัว ร่วมกับการใช้ปุ๋ยทางใบ สูตร 11-0-52 
                                   ในที่นี้ จะยัง ไม่ขอกล่าวรายระเอียดลึกๆ เกี่ยวกับ ปุ๋ยข้าว แต่ที่นำเสนอเรื่องวิธีการใส่ปุ๋ยข้าว มามากพอสมควรเพราะว่าตามปกติ เกษตรกรผู้ปลูกข้าวมักจะใช้ ปุ๋ย ยูเรีย( N )  เป็นจำนวนมาก ตลอดอายุ การเจริญเติบโตของข้าว ซึ่งทำให้ ต้นข้าวมีความอ่อนแอ เนื่องจากปุ๋ยยูเรีย จะไปเร่งการเจริญเติบโตทางใบและลำต้นข้าวเพียงอย่างเดียว ทำให้ใบเขียว ต้นสูง แต่ผลเสียที่ตามมาคือ แมลงแทบทุกชนิดชอบต้นข้าวที่มีลักษณะอวบอ้วนที่เกิดจากการใช้ N เกินความจำเป็น โดยเฉพาะเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล  ทำให้เราต้องเสียค่าใช้จ่ายในการกำจัดเพลี้ยกระโดด เพิ่มขึ้น หากรอดจากเพลี้ยกระโดด ข้าวที่ให้ผลผลิตระยะ ก่อนการเก็บเกี่ยว อาจล้มง่าย ซึ่งเป็นที่รู้ดีว่าหากข้าวล้มพังพาบกับพื้นนาเสียแล้ว การเก็บเกี่ยว ก็จะไม่ได้ผลลิตเต็มที่ พอๆกับการถูกทำลายด้วยเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

                     วิธีการวิธีการปลูกข้าว ไม่ให้เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลมาทำลายข้าวในแปลงนาของเรา ดังกล่าวมาเป็นวิธีการที่ต้องมีการประยุกต์ใช้ให้เข้ากับสภาพแปลงนาของแต่ละคน รวมถึงสายพันธุ์ข้าวที่ทำการปลูกด้วย

6 comments:

  1. จากการลงพื้นที่ล่าสุด พบว่า การกำจัดเพลี้ยกระโดดที่ได้ผลดีที่สุด คือการใช้วิธีการควบคุมน้ำในแปลงนาข้าว ให้แห้ง ในแปลงนาที่มีเพลี้ยกระโดดระบาด พบว่าในแปลงที่ ไขน้ำให้แห้ง การทำลายของเพลี้ยจะลดลงอย่างมาก เรียกว่าอพยพหนีออกไปจากแปลงข้าวนั้นทันที ส่วนในแปลงที่น้ำดี จะพบการระบาดอย่างต่อเนื่อง ฉะนั้นเวลาพบการระบาดของเพลี้ยให้ทำการ ไขน้ำออกจากแปลงนาทันที ให้แห้ง เพลี้ยจะหายไปทันที

    ReplyDelete
  2. Anonymous8/13/2010

    เพลี้ยกระโดดยุกต์นี้มัมฉลาด มันจะว่างไข่ในตาระแหงเวลาเรานำน้ำเข้านาอีก ก็จะระบาดอีก

    ReplyDelete
  3. Anonymous9/08/2010

    ใช้พันธุ์ข้าว 30-40 กก/ไร่ ใช่หรื่อเปล่า เห็นทางเกษตรแจ้งว่าให้ลดเมล็ดพันธุ์ลงให้เหลือแค่ 20 กก./ไร่ เท่านั้น จากชาวนาสุพรรณ

    ReplyDelete
  4. หว่านยูเรียตอนข้าวอายุ 10-20 วัน ใช้อัตราส่วนกี่ ก.ก/ไร่

    ReplyDelete
  5. Anonymous4/19/2011

    พันธุ์หอมปทุมมันชอบมาก ที่สุพรรณนะ ถ้าพันธุ์พิษณุโลกมันจะไม่ค่อยกิน

    ReplyDelete
  6. Anonymous9/27/2012

    ขอทราบชื่อตัวยารักษาโรคเพลี้ยกระโดดสีนำตาลหน่อยได้ไหมค่ะ
    ไม่งั้นก็บอกวิธีป้องกันก็ได้ค้ะ ขอบคุณค้ะ

    ReplyDelete

Need for Backlinks + Traffic + Search Engine Bot,Please Comment related to the content on the blog. Choose Name/URL and will Approve you comment Fast,Other Comments be Spam!